
ท่านต้องนำรถของท่านไปตรวจสภาพที่ สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. ที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง จากกรมการขนส่ง ทุกแห่งใกล้บ้านท่าน กดดูแผนที่
ราคา
ค่าตรวจสภาพรถยนต์ 200 บาท สำหรับน้ำหนักไม่เกิน 2,000 กก.
และ 300 บาท สำหรับรถยนต์ที่หนักเกิน 2,000 กก.
ค่าตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ 60 บาท (รถมอเตอร์ไซต์)
ไม่ตรวจสภาพรถไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันที่เข้าข่ายจำเป็นต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีทุกครั้ง
รถที่ต้องตรวจสภาพ
รถยนต์ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป นับจากวันจดทะเบียน
รถจักรยานยนต์อายุการใช้งาน 5 ปีขึ้นไป นับจากวันจดทะเบียน
เมื่อรถยนต์ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป นับจากวันจดทะเบียน
รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งาน 5 ปีขึ้นไป นับจากวันจดทะเบียน
ง่ายๆ คือ รถยนต์ที่จะต่อภาษีปีที่ 8 ต้องตรวจสภาพด้วย
และรถมอเตอร์ไซค์ที่จะต่อภาษีปีที่ 6 ต้องตรวจสภาพด้วย
โดยสามารถดูได้จากใบคู่มือจดทะเบียน ในหน้าที่ 16 (รถยนต์เล่มสีน้ำเงิน รถจักรยานยนต์เล่มสีเขียว)
ผู้ที่จะนำรถไปตรวจสภาพที่ ตรอ. ต้องนำสมุดคู่มือจดทะเบียนรถไปด้วย (รถยนต์เล่มสีน้ำเงิน รถจักรยานยนต์เล่มสีเขียว)
หากไม่มี สามารถใช้ใบถ่าย หรือสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถแทนได้
ไม่ได้ เพราะทาง ตรอ. ต้องนำข้อมูลรถมาลงในระบบคอมพิวเตอร์ส่งให้กรมการขนส่งฯ พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของรถ และข้อมูลรถด้วย
ได้ ท่านสามารถนำรถไปตรวจสภาพที่ สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ได้ทั่วประเทศ
ค่าบริการตรวจสภาพรถ
รถยนต์น้ำหนักไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม 200 บาท
รถยนต์น้ำหนักเกิน 2,000 กิโลกรัม 300 บาท
รถจักรยานยนต์ (รถมอเตอร์ไซค์) 60 บาท
การตรวจสภาพรถ ใช้เวลาไม่นานจ้า ประมาณ 15 -30 นาที ต่อคัน
และลูกค้าสามารถรอรับใบตรวจสภาพได้เลย
ต้องนำรถไปแก้ไขในข้อที่ไม่ผ่าน จากนั้นก็นำรถมาตรวจสภาพอีกครั้ง
ใบตรวจสภาพรถมีอายุ 90 วัน นับจากวันที่ทำการตรวจสภาพรถ
ต้องตรวจจ้า ตามกฎหมายเมื่อรถเราถึงกำหนดตรวจสภาพแล้ว เราต้องตรวจสภาพรถทุกปีค่า
รถที่ติดตั้งแก๊ส CNG (NGV) นั้นในการต่อภาษีประจำปี ปีที่ 4 นับจำวันที่ติดตั้งแก๊ส จะต้องนำรถไปตรวจสภาพ ที่สถานตรวจสภาพรถใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (NGV)
ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก และหลังจากนั้นต้องนำรถไปตรวจสภาพแก๊สปีละ 1 ครั้ง ทุกปี
รถที่ติดตั้งแก๊ส LPG มานั้น ในการต่อภาษีประจำปี ปีที่ 6 นับจากวันที่ติดตั้ง จะต้องนำรถไปตรวจสภาพ ที่สถานตรวจสภาพรถใช้แก๊ส LPG ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
จำเป็น เพื่อความปลอยภัยของผู้ใช้รถ และเมื่อรถที่จดใช้งานแก๊สชนิดต่างๆ ครบตามปีที่กฎหมายกำหนด ต้องนำใบตรวจสภาพแก๊ส
เพื่อนำใบตรวจสภาพแก๊ส ไปยื่นคู่กับใบตรวจสภาพ ตรอ. และ พรบ. เพื่อต่อภาษีประจำปี
สามารถต่อภาษีที่อุบลได้จ้า เราสามารถต่อภาษี ต่อทะเบียนรถที่จังหวัดไหนก็ได้ ทั่วประเทศเลยค่า
ได้จ้า เราสามารถต่อทะเบียนรถก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 นับจากวันที่ภาษีจะขาดจ้า
เช่น ภาษีรถจะขาดในวันที่ 1 ม.ค. 61 เราสามารถต่อภาษีรถได้ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2560 เป็นต้นไป คือต่อได้ก่อนขาด 90 วันนั้นเอง
ถ้าภาษีขาดมายังไม่เกิน 3 ปี สามารถต่อภาษีได้เลยค่า โดยจะเสียค่าปรับร้อยละ 1 บาท ของค่าภาษีประจำปีนั้นๆ
เช่น ภาษีขาดมาแล้ว 7 เดือน โดยปกติเสียค่าภาษีปีละ 900 บาท ก็จะเสียค่าปรับเท่ากับ (900*0.01)*7 = 63 บาท เป็นต้น
และถ้าขาดเกิน 3 ปี ต้องทำเรื่องจดทะเบียนใหม่เท่านั้นคะ โดยต้องนำรถไปตรวจสภาพที่ขนส่งด้วย
ถ้าทะเบียนรถขาดมาแล้วไม่เกิน 3 ปี สามารถต่อทะเบียนได้เลย โดยต้องชำรำค่าปรับย้อนหลังในร้อยละหนึ่งบาทต่อเดือน
แต่ถ้าทะเบียนรถขาดเกิน 3 ปี ต้องแจ้งจดทะเบียนรถใหม่เท่านั้น ไม่สามารถต่อจากของเก่าได้
“พ.ร.บ.” คือ ประกันภัยรถภาคบังคับ ซึ่งกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ.คุ้มครอง สรุปง่ายๆ พ.ร.บ. คือประกัน
ภัยที่จะคุ้มครองผู้บาดเจ็บ เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถ ทางพ.ร.บ. จะออกค่ารักษาพยาบาล หรือ จ่ายสินไหมทดแทนให้
จำเป็นต้องทำ เพราะกฎหมายบังคับ ให้รถทุกคันต้องทำพรบ.
หมายเหตุ: กฎหมายบังคับให้เจ้าของรถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ฝ่าฝืนจะมีความผิด
โทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถเก็บรักษาหลักฐานแสดงการมีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถไว้ให้พร้อม
ที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาที่ใช้รถ เว้นแต่กรณีรถคันดังกล่าวได้จดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปีแล้ว
ที่มา:วิริยะประกันภัย
เราสามารถซื้อ พรบ. เพิ่ม หรือ ลดวัน พรบ. ลงได้ เพื่อให้มันขาดพร้อมกับภาษีรถ ปีหน้าจะได้จำง่ายๆ ว่ามันขาดพร้อมกัน
จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น (จ่ายโดยไม่รอผลพิสูจน์ความรับผิด) เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ และ รถคันที่เกิดอุบัติเหตุมีประกันภัย พ.ร.บ. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใน 7 วัน ดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/คน
2. กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร/สูญเสียอวัยวะ จ่าย 35,000 บาท/คน
3. หากเกิดความเสียหายทั้ง 2 กรณีรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
จ่ายค่าสินไหมทดแทน (จ่าย เมื่อพิสูจน์ความรับผิดแล้ว) รวมค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท/คน
2. กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จ่าย 300,000 บาท/คน
3. กรณีสูญเสียอวัยวะ (เป็นไปตามเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนด) จ่าย 200,000 – 300,000 บาท/คน
4. กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จ่ายค่าชดเชย 200 บาท / วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
หมายเหตุ : (ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น)
ขี่รถจักรยานยนต์ล้มเอง สามารถเบิก พ.ร.บ. ค่ารักษาพยาบาล ได้
โดยสามารถเบิกได้ที่ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด หรือ บูทของ บริษัท กลางฯ ที่โรงพยาบาลที่ท่านรักษาตัว
เอกสารที่ใช้ในการเบิก พรบ. (ในกรณีล้มเอง ไม่มีคู่กรณี)
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
2. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
สามารถเบิก พ.ร.บ. ได้ โดยจะได้ เฉพาะค่าเสียเบื้องต้นเท่านั้น
สามารถนำ พ.ร.บ. เก่าไปถ่ายเองสารเพื่อนำไปต่อภาษีได้ แต่ พรบ. นั้นต้องมีอายุคงเหลืออย่างน้อย 6 เดือน ถ้าอายุคงเหลือไม่ถึง ท่านต้องทำพรบ. ใหม่